ถาม-ตอบ การเคลมประกันโควิด-19
ปรับใหม่เริ่ม 15 ก.พ. ต้องเข้าเกณฑ์ดังนี้ถึงจะจ่าย
Covid-19
รวมเอกสารสำคัญ การเคลมประกันโควิด-19 ของทุกเจ้าไว้ที่นี่
เอกสารการเคลมประกันแต่ละหมวดและแต่ละเจ้าต่างกัน ผู้เอาประกันต้องเช็คให้ละเอียดก่อนยื่นเคลม
FAQ
ถาม-ตอบ การเคลมประกัน Home Isolation หรือ Community Isolation
ค่าตรวจ RT PCR เบิกเคลมประกันได้มั้ย
ค่าตรวจโควิด ก็เคลมประกันชีวิตสุขภาพได้
เช็กก่อนเคลม ต้องเข้าเกณฑ์ ดังนี้
ด่านแรก ก่อนตรวจต้องเข้าเกณฑ์ PUI หรือ เกณฑ์สอบสวนโรคก่อน โดย
• มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ มีไข้ 37.5 เป็นต้นไป / ไอ / มีน้ำมูก / เจ็บคอ / จมูกไม่ได้กลิ่น / ลิ้นไม่รับรส / ถ่ายเหลว / ตาแดง / ผื่นขึ้น / หายใจเร็ว / หายใจเหนื่อย / หายใจลำบาก
• อยู่ในพื้นที่เสี่ยง หรือ มีประวัติเดินทางไปกลับในเขตระบาด / สัมผัสผู้ป่วยที่ติดโควิดในระยะเวลา 1 เดือน / ทำงานในสถานกักกันโรค
ด่านที่สอง หลังจากเข้าข่ายด่านแรกไปแล้ว ระหว่างรอผลตรวจ เราแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
• ผลตรวจ = ไม่ติด เคลมค่าตรวจได้ แม้ไม่ได้เข้ารับการรักษาต่อ เพราะเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคเป็นที่เรียบร้อย โดยตัดจากวงเงิน OPD (ผู้ป่วยนอก) จบ กลับบ้านกักตัวต่อได้
• ผลตรวจ = ติด เคลมค่าตรวจได้เช่นกัน ทำการเข้ารับการรักษาต่อไป เบิกเคลมวงเงิน IPD (ผู้ป่วยใน) ได้ตามปกติจนกว่าจะหายดี
*ผลตรวจที่จะนำไปเคลมได้ต้องได้รับการรับรองจากแพทย์ยืนยันเท่านั้นนะ ไม่ว่าจะตรวจแบบ RT-PCR หรือ Rapid Antigen Test ก็ได้หมด
*Rapid Antigen Test เป็นการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เบื้องต้น ใช้เวลาน้อย หากพบเชื้อโควิด-19 ก็ต้องตรวจ RT-PCR เพื่อยืนยันอีกครั้ง
*RT-PCR เป็นการตรวจในระดับสูง ยืนยันเชื้อได้ชัวร์แม้มีเชื้อมากหรือน้อยก็ตาม ไม่ต้องไปตรวจเพิ่มอีก แต่จะใช้เวลาในการวินิจฉัยนานกว่า Rapid Antigen Test
Q: ใครที่สามารถเข้ารับการรักษาตัวจากการติดเชื้อโควิคแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation บ้าง
A: 1. เป็นผู้ติดเชื้อฯ ที่สบายดีไม่มีอาการ
2. ต้องมีอายุน้อยกว่า 60 ปี
3. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
4. อยู่คนเดียว หรือในที่พักอาศัยสามารถแยกตัวอยู่คนเดียวได้
5. ไม่มีภาวะอ้วน (ภาวะอ้วน: BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 30 กิโลกรัม/ม.2 หรือน้ำหนักตัวมากกว่าหรือเท่ากับ 90 กิโลกรัม)
6. ไม่มีโรคร่วมดังต่อไปนี้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ หรือโรคอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์
7. มีความยินยอมในการแยกการรักษาตัวแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation
*เงื่อนไขการเข้ารักษาแบบกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) เป็นไปตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สามารถลงทะเบียนผ่าน https://crmsup.nhso.go.th/ หรือ Line Official สปสช. เพื่อเข้าสู่ระบบการดูแล
Q: Home Isolation และ Community Isolation คืออะไร
A: ทั้ง Home Isolation และ Community Isolation เป็นประเภทการกักตัวเพื่อดูแลรักษาตัวเมื่อติดโควิด โดยมีความแตกต่างดังนี้
การดูแลรักษาแบบ Home Isolation เป็นการดูแลรักษาในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อฯ และแพทย์พิจารณาให้ผู้ป่วยรายนั้นสามารถแยกกักตัวในที่พักได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย โดยได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยและเจ้าของสถานที่ และรวมถึงกรณีที่ผู้ป่วยรักษาในหน่วยบริการ และกลับมาแยกกักตัวในที่พักต่อจนครบกำหนด ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
การดูแลรักษาแบบ Community Isolation เป็นการดูแลรักษาในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อฯ และแพทย์พิจารณาให้ผู้ป่วยรายนั้นสามารถแยกกักตัวในชุมชนได้ ทั้งผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือกลับมาดูแลรักษาต่อจากโรงพยาบาลจนครบกำหนด โดยการจัดให้มีพื้นที่เอกเทศในชุมชนสาหรับแยกกักตัวผู้ติดเชื้อ โดยได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยและเจ้าของสถานที่ ในการจัดเตรียมสถานที่เพื่อได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
Q: ติดเชื้อโควิดและกักตัว Home Isolation หรือ Community Isolation สามารถเบิกค่าชดเชยรายได้ หรือเงินชดเชยรายวันได้ไหม
A: สำหรับกรณีการรักษาตัวแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation ไม่สามารถเบิกเงินชดเชยรายได้ เพราะไม่เข้าเงื่อนไขการรักษาตัวแบบผู้ป่วยในโดยมีความจำเป็นทางการแพทย์
Q: ติดเชื้อโควิดและกักตัว Home Isolation หรือ Community Isolation สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ไหม
A: แม้ว่าการรักษาตัวแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation จะเป็นกรณีที่ไม่เข้าเงื่อนไขการเบิกค่ารักษาพยาบาล แต่บริษัทอนุโลมให้สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ภายใต้ผลประโยชน์ผู้ป่วยนอก ซึ่งจะจ่ายตามจำนวนครั้งที่แพทย์เยี่ยม เฉพาะในส่วนของค่ายา ค่าตรวจวินิจฉัย และค่าแพทย์เยี่ยมไข้
Q6: ผู้ป่วยรอเตียงที่อยู่ใน Home Isolation และ Community Isolation สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล และค่าชดเชยรายได้หรือชดเชยรายวันได้หรือไม่
A: สำหรับผู้ที่มีประกันสุขภาพรายบุคคลและประกันสุขภาพกลุ่มที่ถือครองกรมธรรม์ไว้ กรณีมีความจำเป็นทางการแพทย์แต่ไม่มีสถานพยาบาลรองรับ จะไม่สามารถเบิกเคลมเงินชดเชยรายได้ได้ แต่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ โดยบริษัทจะพิจารณาค่ารักษาพยาบาลภายใต้ผลประโยชน์ผู้ป่วยนอก โดยจ่ายตามจำนวนครั้งที่แพทย์เยี่ยมเฉพาะในส่วนของค่ายา ค่าตรวจวินิจฉัย และค่าแพทย์เยี่ยมไข้
Q5: หากซื้อชุดตรวจโควิดด้วยตนเองมาตรวจแล้วพบว่าติดเชื้อโควิด จากนั้นซื้อยาและรักษาตัวเองที่บ้าน โดยที่ไม่ได้เข้าระบบ Home Isolation หรือ Community Isolation สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล และค่าชดเชยรายได้ได้หรือไม่
A: ไม่สามารถเบิกเคลมเงินชดเชยรายได้
เพราะไม่เข้าข่ายในเงื่อนไขของกรมธรรม์ รวมถึงหากไม่ได้ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบการรักษากับ สปสช. ก็ไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เช่นกัน ทั้งนี้หากพบว่าติดเชื้อจำเป็นต้องลงทะเบียนตามเงื่อนไขการเข้ารักษาแบบกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) หรือศูนย์แยกกักในชุมชน (Community Isolation) ที่เป็นไปตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยสามารถลงทะเบียนผ่าน https://crmsup.nhso.go.th/ หรือ Line Official สปสช. เพื่อเข้าสู่ระบบการดูแล ซึ่งบริษัทจะพิจารณาเบิกเคลมค่ารักษาพยาบาลภายใต้ผลประโยชน์ผู้ป่วยนอก โดยจ่ายตามจำนวนครั้งที่แพทย์เยี่ยมเฉพาะในส่วนของค่ายา ค่าตรวจวินิจฉัย และค่าแพทย์เยี่ยมไข้
Q9: ในกรณีที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงแต่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโดยวิธีการ Home Isolation หรือ Community Isolation สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล และค่าชดเชยรายได้ได้หรือไม่
มีเอกสารแสดงว่าผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โดยแพทย์ผู้ดูแลรักษา และมีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ต้องรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ในสถานพยาบาล แต่ไม่มีสถานพยาบาลรองรับผู้เอาประกันภัยได้ สามารถเบิกสินไหมค่ารักษาพยาบาลภายใต้ผลประโยชน์ผู้ป่วยนอก โดยจ่ายตามจำนวนครั้งที่แพทย์เยี่ยมเฉพาะในส่วนของค่ายา ค่าตรวจวินิจฉัย และค่าแพทย์เยี่ยมไข้ได้
Q7: ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel แล้วแต่ยังไม่ครบ 14 วัน โดยแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นคนไข้ในกลุ่มสีเขียว จึงอนุญาตให้กลับไปทำ Home Isolation ต่อที่บ้านให้ครบ 14 วัน ส่วนที่กลับไปทำ Home Isolation สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล และค่าชดเชยรายได้ได้หรือไม่
A: ทางบริษัทจะจ่ายเงินชดเชยรายได้รายวัน เฉพาะกรณีที่ได้มีการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเท่านั้น เพราะการที่แพทย์ให้กลับบ้านได้แสดงว่าไม่มีความจำเป็นต้องนอนในโรงพยาบาล แต่กักตัวต่อเพื่อป้องกันการระบาดของโรค
ภาพบรรยากาศการทำงานของ Covid V Care
ขอขอบคุณ ลูกค้าทุกท่านที่ไว้วางใจ ใช้บริการ Covid V Care
We’re Here Whenever You Need Us
LINE@
Phone
02-109-5198
094-929-4168
Open Hours
Mon – Sun: 8AM – 8PM
Company
V Healthcare & Wellness Co.ltd
386/54 ถนนเพชรบุรี แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400